21 ก.พ. 2552

Video Coding

Video Coding หมายถึง การนำเทคโนโลยีทางด้านการบีบอัดข้อมูลวีดีทัศน์ โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อการส่งผ่านข้อมูลชนิดมัลติมีเดียให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งด้านคุณภาพของข้อมูล และอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำกว่า พร้อมทั้งเนื้อที่ในการจัดเก็บที่น้อยลง เช่น ประชุมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (video conference via Internet)

กระบวนการ Coding จึงมีส่วนในการจัดการกับข้อมูล/มัลติมีเดียเพื่อเตรียมข้อมูลก่อนที่จะส่ง โดยจะลดจำนวนข้อมูล (Data Rate) ที่จะส่ง เพื่อทำให้การส่งเป็นไปอย่างรวดเร็วเท่าที่เป็นไปได้ภายใต้เงื่อนไขของช่องทางในการส่ง

การบีบอัดวิดีโอ คือ ศิลปะในการนำข้อมูลวิดีโอทิ้งไปให้มากที่สุดโดยยังรักษาคุณภาพไว้ได้ในระดับหนึ่ง การบีบอัดที่อนุญาตให้มีการสูญเสียได้ (Lossy) จะได้ภาพออกมาในตอนถอดรหัส (Decode) ไม่เหมือนกับต้นฉบับในตอนเข้ารหัส (Encode) โดยวิธีลดความคมชัด จำนวนสี และอัตราการแสดงผล ครั้งแรกของคอมพิวเตอร์จะลดข้อมูลโดยการลดขนาดของภาพเป็นหลัก ต่อมาจึงใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การลดข้อมูลจึงไม่กระทบกับขนาดของภาพดั้งเดิม เทคโนโลยีที่ทำให้การบีบข้อมูลสำเร็จได้เรียกว่า DCDEC ซึ่งเป็นตัวย่อของ Compression/ Decompression ปัจจุบันมีการพัฒนา CODEC ใหม่ ๆ หลายชนิดทั้งในรูปของซอฟต์แวร์ และฮาร์ดแวร์ หรือใช้ทั้งสองอย่าง

วิเคราะห์ M-Commerce ของ True



Foundations ประกอบด้วย



  • Technology
    Edge, GRRS, GPS, Wi-Fi, WLAN, Smart Phone, 3G, MMS, SMS, MPLS
  • Wireless Networks
    Fiber Optic, Satellite
  • Internet Access
    Standards ,Wifi , Hotspot
  • Hardware
    Telephone, Phone, IPhone, PDA , PCT , MODEM
  • Software
    Mircrobrower, TrueNetTalk, True Money , Web Activate Login
CAPABILITIE

Attributes

  • Ubiquity = Ubiquity() โทรศัพท์ไร้สายที่อยู่ในรูป smart phone หรือ เครื่องมือสื่อสารสามารถตอบสนองข้อมูลข่าวสารที่มีลักษณะ Real time และการติดต่อสื่อสารที่ไหนก็ได้โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานที่อยู่ของผู้ใช้ ซึ่งทําให้เป็นการง่ายที่จะเข้าถึงข้อมูลและให้ข้อมูลที่เป็น Real time
  • (Mobility) ความสามารถเคลื่อนย้าย เป็นจุดดึงดูดที่น่าสนใจ เนื่องจากระบบไร้สายได้สนองตอบผู้บริโภคด้านสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกหนทุกแห่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่พกพาไปกับผู้ใช้งาน
  • (Broad reach ability) คือ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการที่หลากหลายได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่บางที่ก็ไม่มีสัญญาณ
  • Connectivity สามารถเชื่อมต่อ edge/wi-fi ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณ
  • Convenience สามารถใช้งานได้อย่างความสะดวกสบาย
  • Personalization ความสำคัญของฐานข้อมูลรายบุคคล
  • Cost reduction มีบริการให้เลือกมากมาย และมีโปรโมชั่นให้เลือกใช้หลายอย่าง

Support Service
  • Mobile Portal บริการที่ช่วยในการติดต่อสื่อสาร e-mail chat ให้ข้อมูลข่าวสาร ข่าวทั่ไป ข่าวพยากรณ์อากาศ หรือราคาหุ้น ความบันเทิง เกมส์ ดูหนัง ฟังเพลง link ต่าง ๆ
  • Web Portal คือแหล่งรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์ต่างๆ อาทิ ราคาหุ้น, รายการบันเทิง, ข่าว และอื่นๆ

Applications

  • Maps with GPS ช่วยให้คุณค้นหาตำแหน่งเส้นทางการเดินทางของคุณ และแม้กระทั่งติดตามการเคลื่อนที่ตลอดเส้นทางที่คุณใช้
  • Eng-Thai Dictให้คุณแปลศัพท์ภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้ง่ายๆ
  • Thai Top Loadไม่ตกเทรนด์กับสรุปคลิปที่คนดูมากที่สุดในอินเทอร์เน็ต
  • TrueMusicอัพเดทเอ็มวีฮิตกับ TrueMusic Top20 Chart

Pervasive Computing

  • การค้าผ่านโทรศัพท์, การส่งข้อมูลข่าวสาร, การสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลในองค์กร, ใช้งานของผู้บริโภค, การบริการเฉพาะบุคคล

Management

สร้างConnectionกับบริษัทในเครือทำให้ธุรกิจในเครือที่เกี่ยวข้องโตตามไปด้วยและสามารถเข้าถึงลูกค้าได้หลายกลุ่มเพราะธุรกิจในเครือมีNetworkกว้าง ทรูว่าแผนให้ลูกค้าเข้าถึงการให้บริการได้ทุกจุดเช่น Wi Fi กว่า 15,000 hotspots ในเขตกรุงเทพ หากทรูแก้ปัญหาการเข้าถึงช่องสัญญาณได้ดีในช่วงที่เวลาที่ลูกค้าใช้งานกันมาก ทรูคงได้ส่วงแบ่งการตลาดของMobile Business มากกว่านี้

16 ก.พ. 2552

m-commerce


M-Commerce
M-commerce คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce ที่ใช้อุปกรณ์ไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ

ขอบเขตของ M-commerce
M-commerce ครอบคลุมทั้งการดำเนิน ธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Business to Customer หรือ B to C และระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง (Business to Business หรือ B to B)

ลักษณะของ M-commerce

  • ความสามารถเคลื่อนย้าย (Mobility) เป็นจุดดึงดูดที่ น่าสนใจ
  • ความสามารถเข้าถึง (Reach ability) หมายถึง บุคคลสามารถติดต่อ ณ เวลาใด ๆ (At any time) ที่ท่าน สามารถกําหนดได้

ปัญหาสำคัญของระบบไร้สาย

  1. ระบบไร้สายใช้อัตราการรับส่งข้อมูลได้ต่ำ
  2. ค่าบริการค่อนข้างแพง
  3. โมเด็มรับส่งแบบคลื่นวิทยุ ใช้กำลังงานไฟฟ้าสูง

สาเหตุที่ M-Commerce ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

  • ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ ประหยัดเงิน และเป็นช่องทางโอกาสที่ดีในการทำธุรกิจ
  • สามารถใช้ M-Commerce ได้ทุกที่ทุกเวลา และอุปกรณ์ที่ใช้ก็มีน้ำหนักเบาด้วย
  • ระบบ M-Commerce ช่วยนำผู้ซื้อและผู้ขายให้มาพบกันด้วยวิธีที่ง่ายสะดวก

สถาปัตยกรรมและหลักการทำงานของ M-Commerce
สถาปัตยกรรมของ WAP การรับส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ตไม่สามารถรับ-ส่งได้ดีในเครือข่ายไร้สาย เนื่องจากโพรโตคอล TCP ทำงานได้ไม่ดีในเครือข่ายไร้สาย และอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือยังมีความสามารถไม่พอที่จะประมวลผลข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต ดังนั้นจึงได้ทำการแก้ไขโดย เมื่อต้องการส่งข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังโทรศัพท์มือถือ ข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่ใช้โพรโตคอล TCP/IP มาให้แก่ “ตัวกลาง” ที่เรียกว่า WAP Gateway


WAP Gateway ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายไร้สายในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง WAP Gateway กับเว็บเซิร์ฟเวอร์

WAP Forum คือ องค์กรกลางระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นมา เพื่อมีจุดประสงค์ในการเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ข้อมูลผ่านทางโครงข่ายไร้สาย บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอล และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายอื่นๆ

Web WEP เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่สนับสนุน
เทคโนโลยีนี้สามารถใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยผู้ใช้งานสามารถที่จะใช้บริการต่างๆ ที่อยู่บนโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผ่านเทคโนโลยีแว็พได้เช่นเดียวกับที่ใช้งานบนอินเทอร์เน็ตทั่วๆ ไป

ประโยชน์ของ M-COMMERCE

  1. ช่วยให้สามารถสั่งซื้อสินค้าหรือสั่งจองตั๋วหนังได้โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปซื้อเอง
  2. สามารถให้พนักงานในองค์กรต่างๆ สามารถเข้าดู และเช็ค e-mail ที่ใช้ในบริษัทได้อย่างสะดวกสบายบนโทรศัพท์มือถือ
  3. Mobile Internet เป็นระบบที่ทำให้ผู้ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้จากโทรศัพท์มือถือทุกที่ทุกเวลา
  4. สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากทั้งผู้ให้บริการทั่วโลกในอัตราค่าบริการเดียวกัน

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ M-Commerce

  1. เครือข่ายโทรคมนาคมไร้สาย เป็นเครือข่ายดิจิตอลที่มีการส่งผ่าน ข้อมูลในลักษณะ IP (Internet Pocket) โดยแบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็ค และทําการส่งข้อมูลเป็นช่วงๆ ทําให้สามารถส่งข้อมูลจากหลาย แหล่ง และหลายๆ ข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียว
  2. อินเตอร์เน็ต เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบ การดําเนินชีวิต การศึกษา การทําธุรกิจ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และอื่นๆ เนื่องจากอินเตอร์เน็ตช่วยให้การ สื่อสารระหว่างกันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
  3. WAP(Wireless Application Protocol) เป็นเทคโนโลยีทางด้านภาษาที่ใช้ในเขียนโปรแกรมเพื่อ นําเสนอขอมูลผ่านทางเว็บไซด์ ซึ่งใช้งานผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากการเปลี่ยนอุปกรณ์รับปลายทางจาก คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้ภาษา HTML ( Hypertext Markup Language) ในการเขียน Web

E-Business
ความหมายของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หมายรวมถึงการค้าทุกประเภทที่กระทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่หลายคนอาจจะนึกถึงเฉพาะการค้าบนเว็บอย่างเดียว
การพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การประกอบธุรกิจ ซื้อขายสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งที่นิยมได้แก่อินเทอร์เน็ตโดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายไม่จำเป็นต้องเห็นหน้าไป ซึ่งมีหลายแบบได้แก่

  1. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับองค์กรธุรกิจ(Business to Business (B-to-B))เป็นการค้าขนาดใหญ่ระหว่างองค์กรกับองค์กร
  2. การค้าระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer (B-to-C)) เป็นการค้าปลีกไปยังผู้บริโภคทั่วโลก หรือภายในท้องถิ่นของตน
  3. การค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน (Consumer to Consumer (C-to-C) เป็นการค้าปลีกระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ตด้วยกัน
  4. แบบขายเครื่องมือในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Business Enabler)การค้าแบบขาย เครื่องมือในการทำธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการค้าขายเครื่องมือทำการค้าบนเว็บที่อำนวยความสะดวกและพร้อมใช้งานได้เลย
  5. การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure Providers)การให้บริการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เป็นการค้า สาธารณูปโภค พื้นฐานเพื่อสนับสนุนธุรกรรมของการค้าบนเว็บ

    จุดประสงค์หลัก ของการนำเอาระบบอินเทอร์เน็ต เข้าไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ หรือในทุกส่วนของ กระบวนการ ธุรกิจนี้ เพื่อ

  6. 1. ลดต้นทุน การลดต้นทุนในการติดต่อสื่อสารโดย ใช้อีเมล์แทนการใช้โทรสาร
    2. ประหยัดเวลา
    3. เพิ่มประสิทธิภาพ

รูปแบบ E-Business สามารถแบ่งได้ 3 ระดับดังนี้

  1. Integrated e-Business Solution Level 1: นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อลูกค้า
  2. Integrated e-Business Solution Level 2: นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อลูกค้า ผู้ผลิตวัตถุดิบ และหน่วยงานต่าง
  3. Integrated e-Business Solution Level 3: นำระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเครือข่าย และเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการติดต่อลูกค้า ผู้ผลิตวัตถุดิบ หน่วยงานต่าง

ประโยชน์ที่จะได้รับของการปฏิรูปแบบการจัดการ และการบริหารธุรกิจแบบเก่ามาสู่"แบบอี-บิสเน็ต

  • เพิ่มความสะดวกสบายและความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
  • เพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการดำเนินงานธุรกิจ
  • เพิ่มความรวดเร็วและถูกต้องในการทำงานขององค์กร ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
  • เพิ่มช่องทางในการขยายตลาด anytime)
  • เพิ่มความได้เปรียบกับคู่แข่งทางการค้า

อี-บีสเน็ต (e-Business) คือรูปแบบของธุรกิจ ที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ และระบบเครือข่าย(Internet, Intranet และ Extranet) สามารถแบ่งเป็น 4 ส่วนดังนี้

  • ระบบลูกค้าสัมพันธ์ เช่นในการแสดงสินค้า, รับสั่งซื้อสินค้า
  • แสดงสถานภาพของการสินค้า บริการ และอื่น ๆ การติดต่อกับแหล่งวัตถุดิบ
  • การสั่งซื้อวัตถุดิบ,และตรวจสอบสถานภาพวัตถุดิบที่สั่งซื้อ
  • ลดขั้นตอนการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร

การใช้งานของ M-Commerce

  • Online stock trading การซื้อขายหุ้น Online การซื้อขายหุ้นแบบ online ได้ทำกันมาแล้วทั่วโลก อย่างเช่น I-MODE (ชื่อระบบ) ในประเทศญี่ปุ่นจนถึง E*Trade ในหลายประเทศ Dagens Industri ของสวีเดนอนุญาตให้สมาชิกซื้อขายหุ้นที่อยู่ในตลาดหุ้น Stockholm และรับข้อมูลทางการเงินโดยใช้ PDA (Personal Digital Assistant เช่นปาล์ม) การซื้อขายหุ้นที่ไหนก็ได้เป็นสิ่งสำคัญต่อทั้งนักลงทุนและนายหน้า
  • On-line Banking ธนาคาร Online เติบโตอย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่นธนาคาร Swedish Portal ให้ลูกค้าจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ และ MaritaNordabanken ก็ให้ทำรายการได้หลาหลาย CitiBank ก็ให้บริการธนาคารผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศสิงค์โปร์ ฮ่องกงและอีกหลายประเทศ
  • Micropayments ผู้บริโภคในประเทศญี่ปุ่นสามารถใช้โทรศัพท์มือถือซื้อของจากตู้ขายของอัตโนมัติ ในประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ผู้บริโภคสามารถจ่ายค่าที่จอดรถ ค่าล้างรถ ค่าน้ำมันหรือแม้กระทั่งน้ำอัดลมที่ตู้ขายอัตโนมัต
  • On-line gambling การพนัน Online Eurobet ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในประเทศสหราชอาณาจักร มีบริการพนัน online ที่ฮ่องกงคุณก็สามารถแทงม้าแข่งจากโทรศัพ?เคลื่อนที่ได้
  • Ordering and Services การสั่งซื้อและบริการ Barnes and Noble Inc มีบริการให้ลูกค้าฟังเพลงที่ตัวเองเลือกโดยการ download ลงไปใน PDA หรือโทรศัพท์มือถือ
  • On-line auctions การประมูล online QXL.com บริษัทที่ทำธุรกิจประมูลแบบ online ในสหราชอาณาจักรให้ลูกค้าเปิดบัญชีที่ Web และประมูลของผ่านโทรศัพท์มือถือ E-Bay ซึ่งทำธุรกิจประมูลแบบ online ก็สามารถใช้บริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เช่นกัน
  • Messaging system ระบบการส่งข้อความ E-mail ในระบบ Internet ของโทรศัพท์มือถือหรือ SMS (Short Messaging) ในปี 2543 มีความเป็นไปได้ที่จะส่งหรือรับข้อความยาว 160 ตัวอักษร ในเดือนสิงหาคมปีเดียวกันทั่วโลกได้มีการส่งข้อความประมาณ 10,000 ล้านข้อความไปมา และเพิ่มเท่าตัวต้นปี 2544 SMS สามารถใช้โฆษณา หากนักทำโฆษณารู้อะไรบ้างอย่างของผู้ใช้ ข้อความส่วนตัวก็สามารถส่งไปให้ผู้ใช้ที่ใดก็ได้
  • B2B applications การนำมาใช้ใน B2B M-commerce ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเก็บและประเมินข้อมูลสำหรับการตัดสินใจได้ดีและรวดเร็วขึ้น พนักงานที่ทำงานอยู่นอกสถานที่สามารถตรวจสอบสินค้าคงเหลือหรือส่งคำสั่ง อนเตอร์เน็ทจึงกลายเป็นที่เก็บข้อมูลขององค์กรเสมือนเป็นคลังเก็บสินค้าและบริการที่จับต้องไม่ได้

Successful Vender : I-Mode
ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ: I-MODE เพื่อที่จะให้เห็นศักยภาพของ M-commerce ชัดขึ้น เราจะมาดูผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเช่น I-MODE (NTT Docomo) การบริการไร้สายนี้ได้บุกเบิกในปี 2544-2545 ผู้ใช้ I-MODE สามารถทำรายการ M-commerce ได้อย่างหลากหลายตั้งแต่การซื้อหุ้น ทำรายการธนาคาร จนถึงซื้อตั๋วท่องเที่ยว และจองห้องคาราโอเก คุณยังสามารถที่จะส่งและรับภาพสีด้วยเช่นกันโดยระบบ I-MODE ระบบดังกล่าวได้เริ่มให้บริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 และมีผู้ใช้บริการมากกว่า 15 ล้านคนต้นปี 2543 นี้เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจที่ I-MODE ให้บริการ

  • ดูตารางเวลารถไฟและรถบัส แนะนำสถานที่ shopping และระบบเตือนอัตโนมัตหากรถไฟมาถึงล่าช้า
  • คูปองส่วนลดสำหรับซื้อขายและภัตราคาร
  • ซื้อเพลง online
  • ส่งและรับรูปถ่าย
  • ซื้อตั๋วเครื่องบิน
  • ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือที่ขายดีและซื้อหนังสือนั้น
  • รับคุณสมบัตินิสัยของ Tamagochi ทุกวันในราคา US$1/เดือน

supply chain

Supply Chain
คือ เครือข่ายตั้งแต่การจัดหาสินค้าหรือบริการจนกระทั่งถึงส่งมอบสินค้าหรือบริการถึงมือลูกค้า ประกอบด้วย Suppliers, Manufacturers, Distributors, Retailers, Wholesalers และ Customers
Supply Chain Management
คือระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่suppliers, manufacturers , distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบ สินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกันเพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

M-Commerce เทคโนโลยีช่องทางธุรกรรมยุคใหม่
ด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีระบบไร้สาย ได้ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือเกิดการขยายตัวรวดเร็ว และสร้างโอกาสการพัฒนาช่องทางดำเนินธุรกรรมแบบใหม่ โดยเฉพาะการดำเนินธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์ เรียกว่า Mobile Commerce (M-Commerce) หรือ W-Commerce
ดังนั้น การดำเนินธุรกรรมผ่านอุปกรณ์มือถือซึ่งเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่ไร้ข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ทำให้องค์กรทั้งหลายสนใจการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดังกล่าว เช่น การดาวน์โหลดเพลง การจ่ายค่าโดยสาร ผ่านอุปกรณ์มือถือหรือการตรวจเช็คสต็อกสินค้า เพื่อดำเนินการสั่งซื้อขณะปฏิบัติการภาคสนาม เป็นต้น แม้แต่ธนาคารชั้นนำแห่งยุโรปเหนือได้นำโปรโตคอลที่แสดงด้วยรูปแบบ HTML, XML และมาตรฐานเว็บที่สามารถแสดงผ่านบนระบบโทรศัพท์มือถือ นั่นคือ WAP เพื่อให้บริการกับลูกค้า เรียกว่า WAP Banking Service ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี WAP ได้มีบทบาทกับตลาดยุโรปเหนือ ด้วยเหตุนี้ธนาคารหลายแห่งในภูมิภาคยุโรปจึงสนใจลงทุนเทคโนโลยี WAP ซึ่งเป็นผลจากความอิ่มตัว การให้บริการด้วยรูปแบบอินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง ช่วงปลายปี 1999 Datamonitor ได้ทำการสำรวจผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในยุโรป ซึ่งรายงานสรุปว่า มีผู้ใช้บริการราว 133 ล้านคน และคาดการณ์ว่ามีการเติบโตกว่าเท่าตัวภายในปี 2005 ปัจจุบันได้มีผู้ประเมินมูลค่าธุรกรรมผ่านช่องทางระบบมือถือหรือ Mobile channel สูงถึงราวสองล้านล้านดอลล่าร์ ดังนั้น M-Commerce จึงเป็นตลาดที่สร้างช่องทางและโอกาสทางธุรกิจสูง ซึ่งการทำธุรกรรมระหว่างองค์กร(B2B) ในอนาคตจะเป็นรูปแบบประสานการทำงานร่วมกัน (Collaboration) โดย Mobile Commerce เป็นผู้เล่นที่มีบทบาทเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดการลดต้นทุนและเวลาสำหรับดำเนินธุรกรรม

เนื่องจากจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์ระบบไร้สายได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่ช่วงปลายทศวรรษ 90 จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสำหรับเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้มีแนวโน้มลดลง สำหรับปัจจัยที่ช่วยดึงดูดให้มีผู้เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้น เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านระบบไร้สายสามารถตอบสนองให้กับผู้ใช้งานโดยไม่จำกัดตำแหน่งสถานที่ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับโลกอินเตอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าช็อปปิ้งหรือสั่งซื้อสินค้าได้ไม่จำกัดสถานที่ โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่พกพาไป ดังกรณีลูกค้าของ Dagens Industri แห่งสวีเดนได้ทำการซื้อขายหุ้น ในตลาด Stockholm Exchange และรับข้อมูลซื้อขายหุ้นจากที่ต่างๆ ผ่านอุปกรณ์ PDA ส่วน Citybank ได้เปิดบริการ Mobile banking ที่สิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศ นอกจากนี้ M-Commerce ยังเป็นช่องทางประมูลทางออนไลน์อย่าง QWL.Com แห่งประเทศอังกฤษได้ให้ลูกค้าเปิดบัญชีบนเว็บไซต์ และสามารถประมูลผ่านอุปกรณ์มือถือ รวมทั้ง e-Bay ดำเนินธุรกิจประมูลทางออนไลน์ผ่านอุปกรณ์มือถือเช่นกัน

แม้ว่าสหรัฐอเมริกาได้เป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยีออนไลน์ แต่สำหรับการสื่อสารด้วยระบบไร้สายกลับได้รับความนิยมและพัฒนาอย่างรวดเร็วในยุโรปและญี่ปุ่น ดังนั้นผู้บุกเบิกให้บริการระบบไร้สายรายหลักของญี่ปุ่นอย่าง I-MODE ได้ประสบความสำเร็จจากการให้บริการอันหลากหลายผ่าน M-Commerce ระหว่างปี 1999-2000 ตั้งแต่การซื้อขายหุ้นทางออนไลน์ การซื้อตั๋วเดินทาง ตลอดจนการจองห้องคาราโอเกะด้วยการรับส่งภาพสีบน I-MODE ซึ่งการให้บริการดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 1999 โดยต้นปี 2001 ได้มีผู้ใช้บริการกว่า 15 ล้านคน ซึ่งทำให้ I-MODE ยกระดับการให้บริการระดับสากลในช่วงปลายปี 2001 และได้พัฒนารูปแบบการบริการที่ดึงดูดผู้ใช้งาน เช่น สามารถเข้าดูตารางเวลารถไฟ และรถบัส การสั่งซื้อเพลงผ่านทางออนไลน์ การสั่งซื้อตั๋วเครื่องบิน และการหาข้อมูลหนังสือขายดี เป็นต้น
ปัจจุบันเทคโนโลยี M-Commerce ได้พัฒนาสู่รูปแบบให้บริการตามตำแหน่งผู้ใช้อุปกรณ์มือถือ(Localization of services) หรือ L-commerce ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าผ่านอุปกรณ์มือถือ การให้บริการดังกล่าวทำให้ผู้ใช้ได้รับทราบตารางการเดินรถและตำแหน่งของรถบัส เพียงแค่โทรแจ้งทางระบบจะดำเนิน การคำนวณเวลาที่รถบัสมาถึงป้ายหรือสถานี นอกจากนี้ยังสามารถค้นหาตำแหน่งผู้ใช้มือถือว่ากำลังอยู่ตำแหน่งใด

เทคโนโลยีสนับสนุนธุรกรรมได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะ M-Commerce ได้สร้างช่องทางเชื่อมโยงกับลูกค้าหรือคู่ค้าแบบไร้สาย ซึ่งมีบทบาทแทนที่รูปแบบการให้บริการในตลาดระบบโทรศัพท์แบบเก่า (Fixed - line) ด้วยความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ผลักดันให้ผู้พัฒนาซอฟท์แวร์เกิดการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงสมรรถนะระบบไร้สายให้สามารถตอบสนองกับความหลากหลายของผู้บริโภคยุคใหม่ ด้วยเหตุนี้ M-Commerce จึงไม่เป็นเพียงแค่นวัตกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจยุคใหม่

Supply Chain กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในระบบการค้ายุคใหม่ (New Economy) ผู้ประกอบการสามารถบริหาร ห่วงโซ่มูลค่าทางการค้าโดยการสร้างมูลค่าของสินค้าโดยอาศัย Value Chain ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ (E-Commerce) มาประยุกต์ใช้ในแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่ของ Logistics & Supply Chain ทั้งในรูปแบบ Business-to-Consumer (B2C) เพื่อช่วยให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพที่มีต้นทุนในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับคู่แข่งทางธุรกิจ
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) แบบ Business-to-Business (B2B) จะเป็นช่องทางการค้าแบบใหม่ควบคู่กับช่องทางการค้าแบบดั้งเดิม ที่ช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกดูข้อมูลต่างๆของสินค้า สามารถสั่งซื้อสินค้าและชำระค่าสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ และระยะทาง ในขณะเดียวกันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) แบบ Business-to-Business (B2B) ก็จะเป็นการดำเนินการค้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องโดยตรง เป็นการดำเนินระหว่างธุรกิจกับธุรกิจในการจัดซื้อ จัดหา การสั่งผลิต การขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นการที่ร้านค้าปลีกสั่งซื้อสินค้าจากผู้จัดจำหน่าย ผู้จัดจำหน่ายสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิต ผู้ผลิตสั่งซื้อวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ และปัจจัยต่างๆในการผลิตจาก Supplier ดังนั้น พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B จึงเป็นโครงสร้างขั้นพื้นฐานของการค้าระบบใหม่ที่มีผลโดยตรงต่อการสนับสนุนการค้าในรูปแบบของ B2C ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
กลไกที่สำคัญของการจัดการ Supply Chain จะอยู่ในการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร (Information Flow) ซึ่งอุปสรรคใหญ่ ก็คือ ผู้บริหารส่วนใหญ่ใช้เวลากับการหาข้อมูล และการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการประชุม และใช้เวลาส่วนใหญ่ในการบริหารจัดการเพื่อที่จะให้ได้ข้อมูลและถกเถียงเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยไม่ทราบวิธีหรือไม่ได้นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง ซึ่ง Information Flow ไม่ใช่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการนั้น อีกประการหนึ่ง องค์กรและผู้บริหารใช้ทรัพยากรจำนวนมาก รวมถึงใช้เวลาไปกับการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและอุปกรณ์ Computer Hardware โดยเป็นการหลงทางเข้าไปรู้เรื่องเทคโนโลยีมาก จนไม่ใส่ใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่ได้จากเทคโนโลยี โดยนักเขียนอย่าง Peter F. Drucker ได้กล่าวไว้อย่างน่าฟังว่า “การทราบว่าเครื่องพิมพ์ดีดทำงานอย่างไร หรือจะพิมพ์ดีดให้เก่งอย่างไร ก็ไม่ได้ช่วยให้คุณเป็นนักเขียน (ที่เก่ง) ขึ้นมาได้” ผู้เขียนค่อนข้างเห็นด้วย เพราะยังมีผู้บริหารอีกมากที่ชอบอวดตัวว่าเป็นผู้รู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการลงมือ หรือ Show Off ไปเป็น Computer Operator และมีการแบก Laptop Comp. หรือเล่นกับ Comp. พกพา ซึ่งทั้งหมดควรเป็นหน้าที่ของพนักงานหรืองานเลขานุการ ซึ่งมีเงินเดือนน้อยกว่าหลายสิบเท่า การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล จึงต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการข้อมูลเพื่อเอาไปใช้งาน ที่เรียกว่า “สารสนเทศโลจิสติกส์” จะเป็นปัจจัยที่ทำให้กลไกในระบบ Logistics และ Supply Chain ที่เป็นองค์ประกอบสามารถที่จะรวมเป็นบูรณาการเดียวกันภายใต้ เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ และการมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะส่งผลที่สำคัญต่อการสนับสนุนการดำเนินการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆของวัฏจักรคำสั่งซื้อ (Order Cycle) ซึ่งเป็นส่วนที่มีผลต่อการบริการลูกค้าขององค์กร การใช้เทคโนโลยีจะอยู่ในส่วนของการส่งข้อมูลทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่รู้จักในคำว่า EDI (Electronic Data Interchange) ในการส่งผ่านข้อมูลในการทำงาน ทำให้สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพด้านเวลา ในการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่างๆได้

ผลกระทบจากการสารสนเทศโลจิสติกส์
การดำเนินการโดยใช้ระบบสารสนเทศในธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ SCM ก่อให้เกิดภาพพจน์ใหม่ของการดำเนินธุรกิจคลังสินค้าซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบเดิม Logistics เป็นงานที่ต้องสัมผัสกับสินค้าจริง ผู้ดำเนินงานต้องใช้แรงงานและความชำนาญในการปฏิบัติ ผู้บริหารควรวางแผนการใช้เทคโนโลยีในงาน Logistics & Supply Chain เพื่อรองรับผลกระทบดังนี้
1. ผลกระทบด้านธุรกิจขององค์กร ระบบคลังสินค้าจะช่วยให้เกิดการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เก็บสินค้าได้มาก เพิ่มขีดความสามารถในการสนับสนุนการแข่งขันในเชิงธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรสามารถขยายธุรกิจให้กว้างได้มากขึ้นเนื่องจากเหลือสินค้าและประสิทธิภาพในการดำเนินงานเพิ่ม
2. ผู้บริหารสามารถมองเห็นสถานภาพ (Status) โดยรวมของธุรกิจได้ชัดเจนและรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อนำ Electronic Tracking มาใช้ในการติดตามงานที่เป็นแบบ B2B จะทำให้สามารถปรับกลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดีขึ้น
3. เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานโดยรวมขององค์กรเป็นการลดต้นทุนในการเก็บสินค้า เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
4. สร้างความพึงพอใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ก่อให้เกิดการทำงานที่เป็นแบบบูรณาการ
6. ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบคลังสินค้าสามารถส่งถึงกันและกันได้ทันท่วงที (Real Time) และมีความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy) ลดความผิดพลาดซึ่งเกิดจากการส่งข้อมูล

กระบวนการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology Management) ซึ่งนับเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนของ Supply Chain เป็นแบบพลวัต (Dynamic) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Logistics & Supply Chain จะละเลยไม่เข้าใจบทบาทของ Information Technology จะทำให้ไม่สามารถเข้าใจและไม่อาจนำการจัดการ Supply Chain มาเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขัน ซึ่ง Supply Chain จะขับเคลื่อนได้ จะต้องอาศัยเครือข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศ” จึงจะต้องมีการศึกษารูปแบบของระบบและเครือข่ายที่เหมาะสม โดยจะขอนำเทคโนโลยีที่สำคัญ

INTERNET
Internet หรือ XML เป็นการพัฒนาการที่ก้าวหน้ากว่าในอดีตทั้งในด้านประสิทธิภาพด้านความเร็วในการส่ง ข้อมูล และต้นทุน พัฒนาการของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้การลงทุนในเครือข่ายโดยตรงหมดไป การลงทุนที่ต่ำกว่าเดิม ส่งผลให้เกิดความยืดหยุ่นในการขยายเครือข่ายการปฏิบัติงานได้มากขึ้น การปฏิบัติงานต่างๆ จะมีลักษณะ Real Time มากขึ้นเช่นกัน การใช้อินเตอร์เน็ต นำไปสู่การจัดการระบบ Logistics และห่วงโซ่อุปทาน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะการนำอินเตอร์เน็ตมาสนับสนุน เป็นการดำเนินงานในลักษณะ E-Commerce โดยอาศัย EDI , XML , B2C , B2B ซึ่ง Software ที่มีการพัฒนาเพื่องาน Logistics & Supply Chain จะมีให้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น DIMS (Distribution Information Management Systems) หรือ WMS (Warehouse Management Systems) และการนำระบบ GPS (Global Position Systems) ไปใช้กับงานขนส่ง


จากที่กล่าวข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศจะมีบทบาทต่อกระบวนการ Supply Chain ก็โดยอาศัยระบบเครือข่ายที่เหมาะสม ข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งต่างๆ ของห่วงโซ่อุปทานเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการควบคุมการดำเนินงานในโซ่อุปทานในแต่ละส่วนของโซ่อุปทาน ก็จะมีข้อมูลที่ใช้เพื่อควบคุมการดำเนินการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันไปตามแต่ลักษณะหน้าที่ และการที่จะสามารถรวบรวมข้อมูลสารสนเทศจากส่วนต่างๆของโซ่อุปทานนี้ได้ จำเป็นต้องมีระบบฐานข้อมูลในระดับที่ช่วยในการเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนต่างๆ ตลอดทั่วทั้ง โซ่อุปทาน ซึ่งในปัจจุบัน การที่มีเครือข่าย IT นั้น ไม่จำเป็นจะต้องเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ หรือขนาดกลาง โดยธุรกิจ SMEs สามารถที่จะมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีราคาถูก เช่น Host Delegated , Co-Location Server , E-Data Banking , ADSL หรือ SDSL ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีที่อาศัยเพียง NT Server และอาศัยโปรแกรมประยุกต์ ก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเทียบเท่า Mainframe Computer ขอเพียงให้เข้าใจการใช้ Computer ในลักษณะที่เป็น Information Flow Management คือการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่ใช้ Computer เป็นเพียง Information Management คือ การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้เพียงการประมวลผลเชิงข้อมูลเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ IT ตามความหมายนี้

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
ในปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจมีมาก ธุรกิจต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายและภาพลักษณ์บริษัทให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยการนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ เข้ามาใช้ในกิจการ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วทุกมุมโลกและสามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว ทุกเวลาส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมและได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาค รัฐบาลและเอกชน ในการนำมาใช้พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขายของกิจการ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” เป็นการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพาณิชย์ โดยการขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ (Website)ง ซึ่งการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะก่อให้เกิด การลดต้นทุน ลดเวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพิ่มช่องทางการตลาดและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ในการทำการค้านั้นต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 2 ฝ่ายก็คือผู้ซื้อและผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายนั้น ก็มีหลายๆรูปแบบ ทำให้เราสามารถจัดประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็นประเภทหลักๆ ดังนี้
  • ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C) คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น
  • ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป
  • ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น
  • ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G) คือ การประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com หรือการใช้งานระบบอีดีไอในพีธีการศุลกากรของกรมศุลฯ
  • ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C) ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบนเว็บไซต์ได้ด้วย

จากการที่แบ่งประเภทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ออกเป็นประเภทตามข้างบนนั้น ดังนั้นทำให้สามารถจัดประเภทของช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างสองฝ่าย ออกได้เป็น 3 ช่องทางคือ
1. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ในที่นี้บุคคลจะหมายถึงทั้งองค์กร บริษัท และตัวบุคคล การติดต่อนั้นทำผ่านได้ทั้ง รูปแบบของโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
2. การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับระบบคอมพิวเตอร์ และระหว่างระบบคอมพิวเตอร์กับบุคคล คือการใช้งานระบบอัตโนมัติในการติดต่อสื่อสารนั่นเอง เช่น ตู้ ATM ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ ระบบ FAX Back ระบบส่งอีเมล์อัตโนมัติ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ
3. การติดต่อระหว่างระบบคอมพิวเตอร์ด้วยกันเองเป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ในการติดต่อทางธุรกิจ โดยการให้ระบบคอมพิวเตอร์ของทั้งสองฝ่ายทำการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยอัตโนมัติ ตามข้อกำหนดที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้ อาทิ อีดีไอ ระบบการจัดการห่วงโซ่การผลิต เป็นต้น

ประโยชน์ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สรุปจากที่ผ่านมานั้นจะพบว่าจะมีข้อที่เป็นประโยชน์ร่วมกันของทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตอยู่ 3 ประเด็นคือ

  • ประหยัดค่าใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายบุคลากรบางส่วน ลดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อแบบเดิมๆ
  • ไม่มีข้อจำกัดด้านสถานที่ สามารถเข้าถึงลูกค้าได้ทั่วโลก (หมายความว่าต้องสร้างเว็บไซต์ให้มีข้อมูลเป็นภาษาสากลหรือภาษาที่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเราใช้มากๆ เช่นภาษาจีน ญี่ปุ่น เป็นต้น)
  • ไม่มีข้อจำกัด้านเวลา สามารถทำการค้าได้ 24 ชั่วโมง 7 วัน ผ่านระบบอัตโนมัติ

ประโยชน์สำหรับผู้ซื้อ/ผู้บริโภค

  • หาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบเรื่องราคา คุณภาพสินค้าและข้อมูลอื่นๆเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ
  • อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากในเรื่องนี้ สามารถเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างในการหาข้อมูลได้ง่าย
  • มีร้านค้าให้เลือกมากขึ้น
  • เพียงแค่พิมพ์คีย์เวิร์ดลงในเครื่องมือค้นหาก็มีสินค้าออกมาให้เลือกมากมาย
  • ได้รับสินค้าอย่างรวดเร็ว ในกรณีที่ซื้อสินค้าที่จับต้องไม่ได้ เพราะสามารถได้รับสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้เลย
  • สินค้าบางอย่างสามารถลดพ่อค้าคนกลางได้ ทำให้ได้ราคาที่ถูกลง คงไม่ใช่กับทุกสินค้าหรือทุกผู้ผลิตที่มีความต้องการมาทำการขายเอง อาจจะได้กับสินค้าบางชนิด
  • ลดความผิดพลาดในการสื่อสาร จากเดิมที่ในการค้าต้องส่งแฟกซ์ หรือบางทีบอกจดทางโทรศัพท์ รับใบคำสั่งซื้อแล้วมาคีย์เข้าระบบ ถ้าสามารถทำการติดต่อกันผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ส่งข้อมูลกันได้เลยจะช่วยลดความผิดพลาดในส่วนนี้ไปได้
  • ลดเวลาในการผลิต นำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการคำนวณเรื่องความต้องการวัตถุดิบ การทำคำสั่งซื้อวัตถุดิบ
  • เพิ่มประสิทธิภาพในระบบสำนักงานส่วนหลัง
  • เปิดตลาดใหม่ หาคู่ค้า ซัพพลายเออร์รายใหม่
  • เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง
  • เพิ่มความสัมพันธ์กับคู่ค้าให้ดีขึ้น
  • สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเว็บไซต์ของบริษัท โดยการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า การให้บริการหลังการขายให้คำปรึกษาเรื่องผลิตภัณฑ์ หรือการแก้ไขเบื้องต้นอย่างรวดเร็ว

10 สุดยอดเทคโนโลยีที่มีผลต่อ Supply Chain
นี่คือสุดยอดเทคโนโลยีที่มีแนวโน้มใน 10 อันดับแรก ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำเนินการ ด้านซัพพลายเชน การขยายการผลิต การจัดจำหน่าย การค้าปลีก และการบริการระยะไกล
1.Connectivity: การเชื่อมต่อที่ครอบคลุมด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย 802.11 เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ บลูทูธ
2.Advanced Wireless (Voice & GPS) การสื่อสารด้วยเสียงและจีพีเอสเชื่อมรวมไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทาน
3.Speech recognition: การสั่งงาน ด้วยเสียง
4.Digital imaging: การประมวลผลภาพดิจิตอล
5.Portable printing: การพิมพ์แบบเคลื่อนที่
6.2D & other bar coding advances: ความก้าวหน้าของระบบบาร์โค้ด 2 มิติ และ ระบบบาร์โค้ดอื่นๆ
7.RFID: อาร์เอฟไอดี
8.RTLS: ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง
9.Remote management: การจัดการทางไกล
10.Wireless and device security: ความปลอดภัยของ อุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย

Chief Knowledge Officer

ผู้บริหารจัดการความรู้
คือ ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถในการทำหน้าที่หลักทางการบริหารได้ดี (Planing, Organizing ,Leading,Controling) มุ่งเน้นที่การใช้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์อย่างเต็มที่และช่วยสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กรหรือในชุมชน

คุณลักษณะของ CKOที่ดี
1. คิดกว้าง : Think Globaly, Act Locally
2. มองไกล : Visionary Leadership
3. ใฝ่สูง : Result-oreiented Management

บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารจัดการความรู้ ต้องทำหน้าที่สำคัญ 3 ประการหรือ 3 S คือ
1. Systemic(Big picture) มองเชิงระบบทั้งองค์การ สร้างภาพใหญ่ให้เจ้าหน้าที่เห็นความเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ เป้าหมายที่ต้องการ เกิดKnowledge vision เราได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดของโรงพยาบาลออกเป็น 3 ประการคือประชาชนมีสุขภาพดี เจ้าหน้าที่มีความสุขและโรงพยาบาลอยู่รอดโดยเรามีทรัพยากรจำกัด ต้องใช้ความสามารถของคนอย่างเต็มที่และพยายามสร้างองค์ความรู้ที่จะพัฒนาที่เหมาะกับตัวเรา
2. Simplifyทำทุกอย่างให้ง่าย ทำให้ทุกคนในองค์การเห็นภาพและขับเคลื่อนทั้งองค์การด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะสม มากกว่าการขับเคลื่อนด้วยโครงการเด่นซึ่งไม่ค่อยมีพลัง ถ้าทำทีละเรื่องคนจะรู้สึกภาระมากไม่ถือเป็นกิจกรรมที่แยกจากงานประจำ ต้องดำเนินการโดยไม่ทำให้สมาชิกขององค์การรู้สึกมีภาระเพิ่ม ตั้งต้นจากงานประจำของเขาแล้วชี้ประเด็นให้เห็นว่าหลักการจัดการความรู้เข้าไปอยู่ตรงไหนของงานประจำของเขา
3. Surrounding สร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ เพื่อให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ มีบุคลากรที่มีอัตราการเรียนรู้สูงเชื่อมั่นในพลังแห่งความรู้และพลังแห่งการแบ่งปันความรู้ โดยทำให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่ามีอย่างน้อย 3 ประการ คือ
… Participation การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในงานที่เขารับผิดชอบ
… Empowerment การเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำงาน ได้มีโอกาสตัดสินใจในสิ่งที่เขารับผิดชอบ
… Open mind เปิดใจให้กว้าง ให้โอกาสได้เสนอความคิดเห็นโดยไม่ถูกขัดขวางหรือโจมตีแม้ว่าจะดูไร้สาระก็ตามเพื่อกระตุ้นให้ทุกคนรู้จักคิด กล้าเสนอความคิดเห็นเกิดความคิดสร้างสรรค์ได้

เป้าหมายหลัก
“เพื่อให้ได้ชื่อว่ามีการจัดการความรู้” ไม่ได้ดำเนินการเพื่อหวังผลของการจัดการความรู้อย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้สูญเสียทรัพยากรไปโดยไม่เกิดผล จะขอเสนอข้อปฏิบัติ 10 ประการ สำหรับพัฒนาหน่วยราชการไปสู่ความเป็นองค์การเรียนรู้
จะเสนอการปฏิบัติ 10 ประการที่เป็นอุปสรรคสำคัญต่อผลสำเร็จในการดำเนินการจัดการความรู้ เน้นที่การปฏิบัติ หมั่นตรวจสอบ และ “กำจัดจุดอ่อน” เหล่านี้เสีย
วิบัติที่ 1 ภาวะผู้นำที่พิการหรือบิดเบี้ยวมีการปฏิบัติของผู้นำระดับสูงขององค์การหลายประการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการจัดการความรู้ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่
… ไม่รู้จักและไม่สนใจการจัดการความรู้
… ไม่สนับสนุนหรือสนับสนุนแบบไม่จริงใจ
… ถือประโยชน์ส่วนตนสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนองค์การ
… มีการแย่งชิงอำนาจในหมู่ผู้บริหารระดับสูง หรือไม่สามัคคีกัน
ภาวะผู้นำที่บิดเบี้ยวอีกประการหนึ่ง คือ “การรวมศูนย์” ของภาวะผู้นำ คือคิด และปฏิบัติ ในลักษณะที่เข้าใจว่าภาวะผู้นำหมายถึงผู้นำระดับสูงเท่านั้น แนวคิด และการปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความรู้ ในการตีความจากมุมของการจัดการความรู้ คำว่า “ภาวะผู้นำ” นอกจากหมายถึงภาวะผู้นำระดับสูงแล้ว ยังมีความเชื่อใน “ผู้นำทั่วทั้งองค์การ” ซึ่งถ้าไม่มีการเอื้อให้ทุกคนในองค์การเป็น “ผู้นำ” ได้แล้ว การจัดการความรู้ภายในองค์การจะมีผลสัมฤทธิ์ได้ยาก หรือไม่ได้เลยในกรณีนี้ คำว่า “ผู้นำ” หมายถึง ผู้ที่ค้นหาและทดลองวิธีการใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบจะเกิด “ผู้นำ” ในบุคลากรทุกระดับภายในองค์การได้ ผู้นำระดับสูงจะต้องยึดถือแนวทางทำงานแบบ “เอื้ออำนาจ” (empowerment) ไม่ใช่แบบ “หวงอำนาจ” หรือ “รวบอำนาจ”
วิบัติที่ 2 วัฒนธรรมอำนาจองค์การที่อยู่ใต้วัฒนธรรมอำนาจ (top – down, command and control) จะมีลักษณะ
… บุคลากรแสดงความเคารพยำเกรง จงรักภักดีต่อ “นาย” ที่เอื้อประโยชน์แก่ตนได้ และทำงานเพื่อสนอง “นโยบาย” ของ “นาย” เป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายหลักขององค์การ
… องค์การมีลักษณะเป็น “แท่งอำนาจ” หลาย ๆ แท่งอยู่ด้วยกันในลักษณะแท่งใครแท่งมัน
… การติดต่อสื่อสารมีลักษณะสื่อสารแนวดิ่งภายในแท่งของตน ไม่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างแท่ง หรือถ้าจะมีก็ต้องเป็นทางการ โดยผู้มีอำนาจสูงสุดของแท่ง “อนุมัติ” ให้ดำเนินการได้
… การริเริ่มสร้างสรรค์ใหม่ ๆ จะดำเนินได้เฉพาะโดย “นโยบาย” หรือโดยการอนุมัติของผู้มีอำนาจสูงสุดภายในแท่งเท่านั้น
… การปฏิบัติงานต้องเป็นไปตามกฎระเบียบโดยเคร่งครัด
… ความสัมพันธ์เป็นลักษณะ “ผู้บังคับบัญชา” กับ “ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา” ภายใต้วัฒนธรรมอำนาจเช่นนี้
การเรียนรู้จากภายนอกหน่วยงานและการสร้างความรู้ขึ้นใช้เอง อาจเป็นการท้าทายผู้บังคับบัญชา และอาจเป็นการปฏิบัติงานผิดกฎระเบียบอันตรายสำคัญที่สุดก็คือ คนที่ทำงานภายใต้วัฒนธรรมอำนาจเป็นเวลานานจนเคยชิน ศักยภาพในการเรียนรู้และสร้างสรรค์จะหดหายไป ในลักษณะที่ทางการแพทย์เรียกว่า “หดเพราะไม่ได้ใช้งาน” (disuse atrophy) เพื่อลดความรุนแรงของวัฒนธรรมอำนาจ องค์การควรมีการยกย่องและให้รางวัลหน่วยงานย่อยที่มีพฤติกรรมหรือกิจกรรมให้ปันความรู้แก่หน่วยงานอื่นภายในองค์การ หรือมีการสื่อสารกับหน่วยงานอื่นอย่างน่าชื่นชมและเกิดผลดีต่อองค์การตามเป้าหมายหรือปณิธานหลักขององค์การ หรือมีการดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคคลภายในหน่วยงาน โดยที่ความรู้ที่นำมาแลกเปลี่ยนหรือให้ปัน ส่วนใหญ่ได้มาจากการทดลองหาวิธีทำงานแบบใหม่ๆ
วิบัติที่ 3 ไม่ให้คุณค่าต่อความแตกต่างหลากหลายในองค์การแบบนี้สิ่งที่เน้นคือ “เอกภาพ” ภายใต้หลักการว่าทุกคนในหน่วยงานจะต้องมีวิธีคิดแบบเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความคิดเชิง “เห็นพ้อง” กับ “ผู้บังคับบัญชา” ในทุกเรื่อง ในลักษณะ “ว่านอนสอนง่าย” “ไม่กระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา”ในองค์การที่มีการปฏิบัติตามแบบข้างบน การดำเนินการความรู้จะไม่บรรลุผลที่จริง คนที่ทำงานร่วมกันจะต้องมีความเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไม่ว่าระหว่างผู้ที่อาวุโสกว่ากับผู้อาวุโสต่ำกว่า และระหว่างผู้มีภาระรับผิดชอบในระดับเดียวกัน แต่การมีวิธีคิดหรือมีความเห็นแตกต่างกัน ต้องไม่ถือเป็นการไม่เคารพหรือกระด้างกระเดื่อง
การจัดการความรู้จะได้ผลสูงส่ง ต่อเมื่อมีผู้ร่วมงานที่แตกต่างหลากหลายในด้านต่าง ๆ มาร่วมปฏิบัติ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน โดยมีการพัฒนาทักษะในการใช้พลังของความแตกต่างหลากหลายให้เกิดผลเชิงบวก เชิงสร้างสรรค์
วิบัติที่ 4 ไม่เปิดโอกาสให้ทดลองวิธีทำงานใหม่ ๆ องค์การแบบนี้เน้นการทำงานตาม “แบบฉบับ” ตามกฎระเบียบหรือตามประเพณีที่ปฏิบัติต่อ ๆ กันมาอย่างเคร่งครัดผู้ที่หาวิธีทำงานที่แตกต่างไปจากเดิมเพื่อให้งานมีคุณภาพสูงขึ้น หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติผิดกฎระเบียบ อาจไม่เป็นที่ชอบใจของเพื่อน ๆ หรือเป็นที่เพ่งเล็งของผู้บังคับบัญชาบรรยากาศของที่ทำงานใดเป็นดังข้างบน การริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จะถูกปิดกั้น การดำเนินการจัดการความรู้จะไม่ได้ผล
การจัดการความรู้จะดำเนินไปอย่างทรงพลังได้ บุคลากรภายในองค์การจะต้องกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกันว่าจะร่วมกันหาวิธีทำงานใหม่ ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาองค์การ และผู้บริหารระดับสูงจะต้องหาวิธีส่งเสริมให้มีการทดลองวิธีทำงานใหม่ ๆ ได้ในทุกระดับ โดยไม่ผิดกฎเกณฑ์กติกา และนำผลการทดลองมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
วิบัติที่ 5 ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงภายนอกที่จริงไม่มีบุคคลใดหรือหน่วยงานใด ที่ไม่รับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมหรือในสภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ แต่ในหน่วยราชการส่วนใหญ่ การรับรู้นั้นอยู่ในลักษณะ “ตั้งอยู่ในความประมาท” คือไม่ตระหนักว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมีผลกระทบต่อตนหรือหน่วยงานของตน ไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ท่านที่อ่านหนังสือ Who Moved My Cheese? จะเข้าใจประเด็นนี้ดี
หน่วยราชการอยู่ในสภาพ “ไม่มีวันเจ๊ง” จึงไม่คุ้นเคยกับการขวนขวายปรับตัว ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด แต่ในเวลานี้รัฐบาลได้ใส่เงื่อนไขต่าง ๆ เข้าไปกระตุ้นให้หน่วยราชการและข้าราชการต้องตื่นตัว ทำงานในลักษณะที่จะต้อง “รับมือ” ต่อการเปลี่ยนแปลงหรือแรงบีบคั้นจากภายนอก การกำหนดให้หน่วยราชการต้องดำเนินการจัดการความรู้และพัฒนาไปเป็นองค์การเรียนรู้ ก็เป็นการสร้างเงื่อนไขอย่างหนึ่งหน่วยราชการที่ผู้บริหารระดับสูง และข้าราชการในองค์การยังคงตั้งอยู่ในความประมาทดังกล่าว จะไม่เกิดการจัดการความรู้ที่เป็น “ของจริง” หรือ “ของแท้”
วิบัติที่ 6 ไม่คิดพึ่งตนเองในด้านความรู้หน่วยราชการต่าง ๆ อยู่ในสภาพ “พึ่งพาความรู้จากภายนอก” จนเคยชิน กล่าวคือทำงานตาม “ความรู้” ที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบอย่างชัดเจนตายตัว และกฎระเบียบเหล่านั้นก็กำหนดมาจากหน่วยงานภายนอกหรือหน่วยเหนือ หน่วยราชการส่วนใหญ่จึงถือว่าตนเองเป็น “หน่วยปฏิบัติ” ทำหน้าที่ปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้ ไม่ใช่ “หน่วยสร้างความรู้” เพราะคิดว่าหน่วยสร้างความรู้คือหน่วยวิชาการ จึงขาดทั้งแนวความคิดและทักษะในการสร้างความรู้ขึ้นใช้เองในงานของตน ข้าราชการที่อยู่ในสภาพนี้นาน ๆ ก็จะ “เป็นง่อยทางปัญญา” คำว่าปัญญาในที่นี้หมายถึงปัญญาปฏิบัติ คือปัญญาที่ได้จากการปฏิบัติงาน และใช้สำหรับปฏิบัติงาน เป็น “ปัญญารวมหมู่” (collective wisdom) คือ มาจากการเรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ แต่จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในหมู่ข้าราชการในหน่วยงานเดียวกัน จะต้องมีความคิดร่วมกันในการพึ่งตนเองด้านความรู้อย่างน้อยก็ในระดับหนึ่ง
วิบัติที่ 7 ไม่ยอมรับความไม่ชัดเจนในการทำงานบางส่วนการปฏิบัติราชการเป็นการทำงานในลักษณะที่ “ชัดเจนตายตัว” ตามกฎเกณฑ์รูปแบบที่กำหนด การทำงานในแนวทางเช่นนี้จึงเป็นการทำงานที่เอาตัวผู้ให้บริการเป็นตัวตั้งหรือเป็นศูนย์กลาง ผู้รับบริการ (หรือลูกค้า) ต้องอนุโลมตามผู้ให้บริการแต่งานบริการสมัยใหม่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ผู้ให้บริการจะต้องบริการ “ตามความพึงพอใจของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ” ซึ่งจะไม่อยู่ในสภาพที่ตายตัว ความเข้าใจเรื่องราวตามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการก็ไม่ชัดเจนในทุกเรื่อง เมื่อเข้าใจไม่ชัดเจน ความรู้ไม่พอ ก็ต้องสร้างความรู้ขึ้นใช้จะเห็นว่าความไม่ชัดเจนคือบ่อเกิดของความรู้ แต่วัฒนธรรมของราชการเป็นวัฒนธรรมปฏิเสธความไม่ชัดเจน จึงเท่ากับปฏิเสธบ่อเกิดแห่งความรู้การทำงานแบบไม่เน้นผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง และไม่ยอมรับความไม่ชัดเจนในขณะปฏิบัติงาน ทำให้ไม่มีโจทย์สำหรับแสวงหาและสร้างความรู้เพื่อการทำงาน ขาด “ตัวช่วย” สำหรับการจัดการความรู้ที่ทรงพลัง
วิบัติที่ 8 การดำเนินการจัดการความรู้ไม่ได้แทรกเป็นเนื้อเดียวกับงานประจำ ทำให้รู้สึกว่าเป็นภาระ หรือเป็นงานที่เพิ่มขึ้น บางองค์การมอบความรับผิดชอบต่อการจัดการความรู้ไว้ที่หน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล บางองค์การมอบไว้ที่หน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การมอบความรับผิดชอบระบบจัดการความรู้ไว้กับหน่วยใดหน่วยหนึ่งใน ๒ หน่วยนี้ มีความเสี่ยงที่การดำเนินการจัดการความรู้จะแยกออกจากเนื้องาน ทำให้การจัดการความรู้กลายเป็นเนื้องานหรือภาระงานเสียเอง ผู้ปฏิบัติงานจะต่อต้าน หรือไม่เต็มใจทำ เพราะรู้สึกว่าเป็นการเพิ่มงาน แล้วในที่สุดการจัดการความรู้จะล้มเหลวที่ดีที่สุด การจัดการความรู้ควรดูแลโดยหน่วยพัฒนาองค์การ (OD – Organization Development) ร่วมกับหน่วยพัฒนาทรัพยากรบุคคล และหน่วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ดำเนินการในลักษณะที่การจัดการความรู้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าตนเองได้รับประโยชน์ เพราะทำให้งานสะดวกขึ้น ผลงานดีขึ้น ลดงานที่ไม่จำเป็นลง เกิดการเรียนรู้มากขึ้น เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน เกิดความรู้สึกว่าตนได้รับการยอมรับนับถือจากเพื่อนร่วมงานเพิ่มขึ้น และในขณะเดียวกัน หน่วยงานหรือองค์การเคลื่อนสู่ความเป็น “องค์การเรียนรู้” และมี “ขุมความรู้” เพื่อการปฏิบัติงานแต่ละชิ้น แต่ละประเภท เก็บไว้ในองค์การ ในลักษณะของความรู้เพื่อการปฏิบัติ ที่ค้นหาได้ทันท่วงที และมีความใหม่ สด อยู่เสมอ
วิบัติที่ 9 การดำเนินการจัดการความรู้ไม่ได้พุ่งเป้าไปที่เป้าหมายหลักขององค์การนี่คือ “จุดตาย” ที่พบบ่อย มีลักษณะของการจัดการความรู้ที่ดำเนินการถูกขั้นตอนทุกอย่าง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเข้มข้น เกิดการยกระดับความรู้ แต่เมื่อประเมินผลกระทบต่อกิจการขององค์การแล้ว พบว่ามีผลน้อยมาก เมื่อตรวจสอบก็พบว่าผู้ดูแลระบบจัดการความรู้ (CKO – Chief Knowledge Officer) ไม่ได้ดูแลให้เป้าหมายของการจัดการความรู้พุ่งไปในทิศทางเดียวกับวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์การเข้าทำนอง กระบวนการดี “ต่อยดี” แต่ผิดเป้า หรือไม่ถูกที่สำคัญ
วิบัติที่ 10 ไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้อย่างเป็นธรรมชาติกิจกรรมที่สำคัญที่สุดในกระบวนการจัดการความรู้คือ “การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้” (knowledge sharing) ซึ่งต้องการ “พื้นที่” ให้คนมาพบปะกัน ทั้งที่เป็น “พื้นที่จริง” และ “พื้นที่ เสมือน” และเป็นพื้นที่ที่อยู่ในลักษณะ “พื้นที่ประเทืองปัญญา” คือไม่ใช่เป็นพื้นที่ที่ “ไร้ชีวิต” ขาดการดูแล แต่เป็นพื้นที่ที่มี “การจัดการ” ให้เกิดความสนุกสนานในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดความรู้สึกใน “น้ำใจไมตรี” ระหว่างผู้เข้ามา “สนุก” ในพื้นที่ เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจที่ตนได้มี “สิ่งละอัน พันละนิด” มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกับเพื่อนร่วมงาน และร่วมกันสร้างความมีชีวิตชีวาในการทำงานหากขาด “พื้นที่ที่มีชีวิต” การจัดการความรู้ในองค์การจะจืดชืด ไม่สามารถเกิดผลอันทรงพลังได้

แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม
แบล็คและพอร์เตอร์ (Black and Porter, 2000) ศึกษาเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์การโดยให้ความสำคัญปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโดยจำแนกออกเป็นปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในองค์การ

ปัจจัยภายนอกองค์การ ที่สำคัญได้แก่
1. สภาวะเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การคือถ้าเศรษฐกิจไม่ดีทำให้องค์การต้องลดจำนวนบุคลากร ลดจำนวนการผลิต ในทางกลับกันถ้าเศรษฐกิจดี ทำให้องค์การเพิ่มการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้มีภารกิจเพิ่มขึ้นและมีการเพิ่มจำนวนบุคลากร
2. คู่แข่งขัน มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์การตลาด ในการหาลูกค้าใหม่เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดและการเติบโตทางการตลาด และอาจทำให้เกิดการควบรวมกิจการ
3. การเมืองและกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงนโยบายและกฎหมายมีผลให้องค์การต้องปรับ เปลี่ยนนโยบายการทำงาน ระบบบริหารงาน ซึ่งจะต้องมีวิธีการเปลี่ยนแปลงให้รวดเร็วและเกิดความขัดแย้งน้อยที่สุด
4. สังคมและประชากร การเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการบริโภคสินค้าต่าง ๆ ทำให้องค์การต้องเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต ลักษณะของสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การขายและการตลาด ปัจจัยภายในองค์การ ประกอบด้วยปัจจัยและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยหลายด้านคือ
1. โครงสร้าง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ ส่งผลให้องค์การมีผลิตภาพเพิ่มขึ้นและมีวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้น รวมถึง การกระจายอำนาจ การลดจำนวนลำดับชั้นในองค์การ การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ในการประเมินบุคลากร การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับมหภาค (การรวมแผนกต่างๆในองค์การ) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในระดับจุลภาค (การรวมหรือแยกแผนกต่างๆเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่าง ๆ)
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การปรับแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดความล่าช้า โดยรวมแผนกต่าง ๆ ในองค์การ เป็นแผนกเดียว การรวมอำนาจด้านสารสนเทศ รวมอำนาจการจัดการสารสนเทศไว้ที่ผู้จัดการเพียงคนเดียว ลดจำนวนลำดับชั้นในองค์การ ทำให้องค์การมีโครงสร้างแบบราบและสร้างการทำงานเป็นทีม สร้างความหลากหลาย ลดจำนวนลำดับชั้นในองค์การและสร้างสำนักงานในภูมิภาคต่างๆ
2. กลยุทธ์ เป็นทิศทางการทำงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์การ การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์เกิดจากการปรึกษาหารือระหว่างผู้บริหารระดับต่างๆ การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ย่อมส่งผลในด้านต่างๆ คือ การผลิต ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า ให้ความสำคัญกับการบริการลูกค้า ราคา คุณภาพของสินค้าแชนเดลอร์ (Chandler, 1962) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์และโครงสร้าง และสรุปว่าการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์การ (Corporate Strategy) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์การ
3. กระบวนการตัดสินใจ การตัดสินใจของผู้บริหารองค์การที่มีโครงสร้างแบนราบนั้น ผู้บริหารระดับสูงจะมีอำนาจในการตัดสินใจน้อยลง การตัดสินใจของผู้บริหารจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์การส่วน การตัดสินใจของพนักงาน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ทำให้เกิดวิธีการผลิตที่สามารถลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพให้กับสินค้าได้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต การเปลี่ยนแปลงภายในองค์การ
4. กระบวนการทำงาน เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและโครงสร้างองค์การ ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานเพื่อแปรสภาพปัจจัยนำเข้าเป็นปัจจัยนำออก
5. เทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อกิจกรรมหลักขององค์การ ทำให้องค์การต้องเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และมีผลกระทบต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงเครื่องมือในการผลิตและเทคโนโลยีนั้นเป็นปัจจัยที่สำคัญในการอยู่รอดและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์การ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กระบวนการทำงาน และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานคืออาจทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในองค์การได้
6. วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การอาจส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์การ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในการทำงาน การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ ได้แก่
-การมอบอำนาจและการจัดการความสัมพันธ์ ผู้บริหารจะมีการมอบอำนาจ การกระจายอำนาจตลอดจนการประสานและสร้างความสัมพันธ์ในกลุ่มพนักงานระหว่างสำนักงานใหญ่และสาขาย่อย
… มิตรภาพและการบริการลูกค้า สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าและสมาคมต่าง ๆ
… ความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม สร้างความสัมพันธ์ระหว่างแผนกต่าง ๆ ในองค์การ สร้างทีมงานเพื่อพัฒนานวัตกรรมและระบบการผลิต
… ความหลากหลาย มีบุคลากรที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ โดยมีการฝึกอบรม
… การมีส่วนร่วมของพนักงานในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในทุกระดับขององค์การ
… ความรู้สึกเป็นครอบครัว เพิ่มความรู้สึกเป็นเจ้าของและให้ความสำคัญกับพนักงานเพิ่มขึ้น
7. บุคลากร การเปลี่ยนแปลงนั้นมีความเกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การในหลายประเด็น คือ บุคคลผู้นั้นทำหน้าที่อะไร มีทัศนคติและความคาดหวังอย่างไร ทำการตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ซึ่งได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาอย่างไร การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากการเพิ่มหรือลดจำนวนบุคลากร สับเปลี่ยนโอนย้ายแผนก การให้ข่าวสารข้อมูล และการฝึกอบรมนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรได้ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยน แปลงได้เช่นกัน การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถนั้นสามารถพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การ และทำให้ผลการปฏิบัติงานมีคุณภาพดีขึ้น


กระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลง อาจจำแนกได้เป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1) การวางแผนและเตรียมการ การกำหนดเวลาในการทำงานที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นเพราะว่าการเริ่มต้นทำงานเร็วเกินไปนั้น ทำให้ขาดการวางแผนและขาดการสนับสนุนที่เพียงพอ ในทางกลับกัน การเริ่มต้นทำงานช้าเกินไปอาจทำให้สูญเสียผลประโยชน์บางอย่างได้ในการนี้จำเป็นต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญคือ
… การสร้างการสนับสนุน ซึ่งต้องพิจารณาว่าใครเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและบุคคลผู้นั้นจะตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไร ซึ่งผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจว่าในสถานการณ์ใดที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้
… การสื่อสาร ผู้บริหารจะต้องแจ้งให้พนักงานที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทราบถึงการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยแจ้งให้ทราบถึง
1) เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง
2) ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง ประเด็นสำคัญในการสื่อสารคือ ให้ความสนใจกับบุคลากรที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงทัศนคติในการทำงาน
… การมีส่วนร่วม ความร่วมมือจากผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถสร้างการสนับสนุนสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ และทำให้แผนงานได้รับการยอมรับมากขึ้น สามารถสร้างความไว้ใจจากพนักงานได้เพราะว่าพนักงานเป็นผู้มีส่วน ร่วมในการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง-การจูงใจ เป็นเครื่องมือในการสร้างความร่วมมือและการสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลง การสื่อให้ทราบถึงผลกระทบในทางบวกที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นสามารถสร้างการสนับสนุนได้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างสิ่งจูงใจสำหรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะสามารถลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงได้
2) การนำนโยบายไปปฏิบัติ ทางเลือกในการนำนโยบายไปปฏิบัติขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำหนดปัญหาในการประเมินการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องการทางเลือกหลายทางในเวลาเดียวกัน เช่น การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ วัฒนธรรมและโครงสร้างองค์การจะต้องมีความสัมพันธ์กัน
… การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เหตุผลในการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดความเสี่ยงและภัยคุกคามต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง เพราะพวกเขาไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นซึ่งเหตุผลในด้านการเปลี่ยนแปลงมีหลายประการรวมถึง
… ความเฉื่อยชา พนักงานในองค์การจะรู้สึกสบายเมื่อทำงานในวิธีการเดิมที่ทำอยู่มากกว่าเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงานใหม่เพราะว่าไม่มีความเสี่ยงเกิดขึ้น
… ความไม่ไว้ใจ ถ้าการเปลี่ยนแปลงไม่มีความชัดเจนว่าจะทำให้เกิดผลในเชิงบวกในอนาคต พนักงานจะเกิดความสงสัยว่าเขาจะเป็นอย่างไรในอนาคต
… การขาดแคลนข้อมูล เกี่ยวกับความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง
… การต่อต้านผลที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติเป็นผลสืบเนื่องจากการประเมินถึงผลกระทบในทางบวกและทางลบที่จะเกิดขึ้น พนักงานจะพยายามปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจทำให้พนักงานสูญเสียผลประโยชน์
3) สำหรับแนวทางที่จะลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่มีการเผชิญกับการเปลี่ยน แปลงจำเป็นต้องมีเทคนิคเพื่อลดแรงต้านโดยการวิเคราะห์และการให้ความรู้โดยใช้หลักการของความสมดุล คือ ในแต่ละเหตุการณ์ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและปัจจัยที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงนั้นมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งผู้บริหารมี 2 ทางเลือก คือ
เพิ่มปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มความกดดันให้พนักงานเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน และลดการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงโดยชี้แจงให้ทราบว่าพนักงานจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลง เทคนิคการลดแรงต้านการเปลี่ยนแปลงได้แก่
… การสื่อสาร (Communication) เป็นวิธีที่ประหยัด แต่บางสถานการณ์มีประสิทธิผลน้อย อย่างไรก็ตามหลายกรณี การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นผลมาจากขาดการสื่อสารที่ดี ดำเนินการสื่อสารการทำความเข้าใจจะช่วยลดแรงต้านได้ดี
… การเจรจาต่อรอง (Negotiation) ถ้าการต่อต้านนั้นเกิดขึ้นจากการขาดแคลนข้อมูลนั้นการทำการเจรจาต่อรองเร็วเกินไป จะทำให้เกิดการต่อต้านเพิ่มขึ้น
… การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นวิธีการที่มีประสิทธิผลในการลดการต่อต้าน และอธิบายถึงเหตุผลที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสำเร็จ แต่มีความเสี่ยงในการที่ไม่สามารถทำนายผลที่จะเกิดขึ้นได้
… การอำนวยความสะดวก (Facilitation and Support) วิธีการนี้จะได้รับการสนับสนุนจากคนที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง
… การบังคับ (Coercion)เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงสูง และไม่สามารถลดการต่อต้านได้ แต่สามารถเอาชนะการต่อต้านได้ในระยะสั้น ซึ่งผู้บริหารจะต้องปรับตัวให้เข้ากับภัยคุกคาม และต้องมีความสามารถในการจูงใจให้พนักงานเกิดความยินยอม
4) การประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง การประเมินผลลัพธ์เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารในการนำแผนไปปฏิบัติ การเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ การมีข้อมูลครบถ้วนย่อมสามารถทำให้การวิเคราะห์สภาวะการเปลี่ยนแปลงมีความถูกต้องชัดเจนขึ้น
เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเป้าหมาย เพื่อประเมินว่าผลการทำงานที่เกิดขึ้นสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ทำการ ทบทวนผลที่เกิดขึ้น เป็นการประเมินผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงและสื่อสารให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรับทราบซึ่งมีหลายวิธีการในการสื่อสารให้ผู้บังคับบัญชาและลูกน้องรับทราบคือ เขียนรายงาน รายงานโดยคำพูด อภิปรายกลุ่ม
สำหรับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงอาจอาศัยวิธีการปรับรื้อระบบ (reengineering) และการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) โดยมีสาระสำคัญคือ
การปรับรื้อระบบ ทำโดยการออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ มีองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันคือ บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ โครงสร้าง สิ่งจูงใจ ค่านิยม ปัจจัยสำคัญในการประสบความสำเร็จในการรีเอ็นจิเนียริ่ง คือ การยอมรับจากผู้บริหารระดับสูง ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จคือ การวางแผน ความร่วมมือ
องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นกระบวนการสร้างทักษะและความรู้ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงาน ลักษณะที่สำคัญ คือ
1) การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นให้ผู้คนในองค์การต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ด้วยกันอย่างต่อเนื่อง (Senge, 1990)
2) การเปลี่ยนแปลงที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้โดยเฉพาะบทบาทของผู้บริหารในฐานะผู้นำการสร้างองค์ความรู้ (Chief Knowledge Officer-CKO)
สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ได้แก่
… การพัฒนาความสามารถของบุคลากรในองค์การ
… วัฒนธรรมองค์การที่สนับสนุนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
… ความสามารถขององค์การในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง
… การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบมีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อใช้ในการตั้ง สมมติฐานแก้ปัญหาและตัดสินใจ
… การทดลองเพื่อพัฒนาความรู้ มีการทำการทดลองเพื่อหาวิธีการใหม่ในการแก้ปัญหา เพิ่มพูนความรู้ เพื่อหาความรู้อย่างต่อเนื่อง และช่วยให้พนักงานมีความเคยชินกับการเปลี่ยนแปลง และลดการต่อต้าน
… เรียนรู้จากประสบการณ์ เป็นการเรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวในอดีต เพื่อหาโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในปัจจุบัน
… เรียนรู้จากการปฏิบัติและความคิดของผู้อื่น เป็นการเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น คู่แข่ง ลูกค้า เพื่อหาข้อมูลและความรู้ใหม่ โดยการตั้งมาตรฐาน วิเคราะห์ผลการทำงานของคู่แข่ง และเปรียบเทียบกับขององค์การ และการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะอภิปรายเกี่ยวกับผลดีและผลเสียของสินค้าและบริการ
… การแบ่งปันความรู้ เป็นวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้กับหน่วยต่าง ๆ ในองค์การ ซึ่งองค์การจะต้องมีวิธีการถ่ายทอดข้อมูลที่มีประสิทธิผล เช่น การพัฒนาโครงการ การรายงาน การฝึกอบรม และการสับเปลี่ยนงาน

พี่บอล ฝึกว่ายน้ำ

สู้ตาย..คร้าบ
นอนบนน้ำก็ยังได้..

เจอโลมาเกยตื้น..แต่ยังไม่ตาย

อะฮ้า..ท่าสวยเปล่าว..

เป็นไงครับ บอลว่ายน้ำเก่งเปล่าว..